กล้อง IP ที่ไม่ต้องเดินสายไฟ

โดยปกติอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องมีสายไฟ เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงระบบอิเลคโทรนิคอยู่แล้ว ซึ่งกล้องวงจรปิดก็เช่นกัน


ในอดีตนั้น สายที่ออกมาจากกล้องวงจรปิดนั้น จะต้องประกอบไปด้วย

1. สายสัญญาณ

2. สายไฟ


ซึ่งในระบบ Analog นั้นก็จะหนีไม่พ้นที่จะต้องมีสายที่ว่าทั้ง 2 เส้นนี้ แต่เมื่อมีการพัฒนากล้อง IP ออกมา กล้องบางรุ่นมีความสามารถพิเศษที่สามารถจ่ายไฟไปในสายสัญญาณได้ เท่ากับว่าเราเดินสายสัญญาณ เพียงแค่เส้นเดียว สายไฟไม่ต้องใช้  


ระบบที่ว่านี้เราเรียกว่า PoE = Power Over Internet



ลูกค้าบางท่านอาจจะคิดว่า แค่ประหยัดสายไฟไปแค่เส้นเดียว จะมาเขียนอธิบายทำไมกันแค่นิดเดียวเอง


     สายไฟ THW ต้นทุน 15 บาท/เส้น/เมตร ซึ่งเราต้องใช้ 2 เส้น สำหรับ  นิวตรอนและไฟ....หากเราติดกล้อง สัก 16 ตัว ที่ตัวละ สัก 80 เมตร = 1,280 เมตร ซึ่งต้องใช้ 2 เส้น รวมเป็นเงิน 38,400 บาท..... เห็นหรือยังครับ ว่าเราเขียนถึงทำไม


     นี่แค่กล้อง 16 ตัวนะครับ แล้วถ้าติด 30-40 ตัวนี้ แค่เฉพาะต้นทุนของผู้รับเหมามันก็เฉียดแสนแล้ว....ซึ่งแน่นอน ถ้าให้เราทำก็ต้องบวกต้นทุนค่าแรงงานและ กำไรเข้าไปในนั้นด้วยแน่นอน


มาเจาะเรื่อง PoE ลึกๆ แบบ ภาษาชาวบ้านกัน


สาย LAN ที่เราใช้กันตามบ้านเนี่ย จะมีอยู่ทั้งหมด 8 เส้น ซึ่งในการใช้งานรับส่งข้อมูลนั้น เราใช้แค่เพียง 4 เส้นเท่านั้น... แปลว่าที่ผ่านมานั้น เราใช้สาย LAN แค่ครึ่งเดียว (4เส้น) มาตลอด โดยที่ 4 เส้นที่เหลือไม่เคยถูกนำมาใช้งานเลย...




ต่อมาไอ่เจ้า PoE ที่ว่าเนี่ย เกิดขึ้นมา และมาใช้ประโยชน์จากสายที่เหลืออีก 4 เส้นนี้แหละ ซึ่งการจ่ายไฟ PoE เค้าจะจ่ายไฟเป็นกระแสตรง 48V ซึ่งจะไม่รบกวน/หรือเหนี่ยวนำให้สายสัญญาณนั้นถูกรบกวนแต่อย่างใด


ดังนั้น เราจึงเดินสาย LAN เพียงแค่เส้นเดียว โดยสาย LAN นั้นจะมี ไฟและสายสัญญาณ จ่ายไปด้วยกัน... 


อันนี้วิชาการ ใครไม่อยากปวดหัว ไม่ต้องอ่าน ข้ามไปได้เลยครับ

======================================================================


ทำความรู้จักมาตรฐานPOE IEEE 802.3af และ IEEE 802.3at

POE ตามมาตรฐาน IEEE แบ่งออกเป็นสองมาตรฐานหลักๆด้วยครับคือ 802.3af ปี 2003 และ 802.3at ปี 2009 โดยทั้งสองมาตรฐานมีความแตกต่างกันเรื่องกำลังของกระแสไฟ้ฟ้าที่ส่งไปบนสาย UTP เพื่อจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆเช่น Access Point, VoIP Phone, CCTV IP-Camera เป็นต้น
IEEE 802.3af รองรับการส่งไฟฟ้ากระแสตรง(DC) สูงสุด 15.4 Watt, 48V, 350mA (ต่ำสุดที่ 44VDC) ไปยังอุปกรณ์เครือข่ายปลายทาง (Powered Device) โดยกระแสไฟฟ้าจะมีเฉลี่ยที่ปลายสายเพียง 12.95Watt เนื่องจากต้องมีการสูญเสียพลังงานไปตามระยะทางของสาย UTP นั่นเอง
IEEE 802.3at หรือที่รู้จักกันในนาม POE+ หรือ POE Plus ซึ่ง 802.3at จะมีรองรับการส่งไฟฟ้า DC ที่มีกำลังสูงถึง 25.5Watt หรือมากได้ถึง 50Watt เมื่อใช้สายทุกคู่ในการส่งกระแสไฟฟ้า



ทำความรู้จักมาตรฐานPOE IEEE 802.3af และ IEEE 802.3at


POE ตามมาตรฐาน IEEE แบ่งออกเป็นสองมาตรฐานหลักๆด้วยครับคือ 802.3af ปี 2003 และ 802.3at ปี 2009 โดยทั้งสองมาตรฐานมีความแตกต่างกันเรื่องกำลังของกระแสไฟ้ฟ้าที่ส่งไปบนสาย UTP เพื่อจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆเช่น Access Point, VoIP Phone, CCTV IP-Camera เป็นต้น


IEEE 802.3af รองรับการส่งไฟฟ้ากระแสตรง(DC) สูงสุด 15.4 Watt, 48V, 350mA (ต่ำสุดที่ 44VDC) ไปยังอุปกรณ์เครือข่ายปลายทาง (Powered Device) โดยกระแสไฟฟ้าจะมีเฉลี่ยที่ปลายสายเพียง 12.95Watt เนื่องจากต้องมีการสูญเสียพลังงานไปตามระยะทางของสาย UTP นั่นเอง ปัจจุบัน บ้านเราใช้แบบนี้เป็นหลักสำหรับกล้องวงจรปิด


IEEE 802.3at หรือที่รู้จักกันในนาม POE+ หรือ POE Plus ซึ่ง 802.3at จะมีรองรับการส่งไฟฟ้า DC ที่มีกำลังสูงถึง 25.5Watt หรือมากได้ถึง 50Watt เมื่อใช้สายทุกคู่ในการส่งกระแสไฟฟ้า


     สาเหตุที่ต้องมีการพัฒนามาตรฐาน 802.3at ขึ้นมานั้น ก็เนื่องจากแต่ก่อนอุปกรณ์เครือข่ายอย่าง Access Point แบบ IEEE 802.11b/g ธรรมดา หรือ VoIP Phone นั้น มีความต้องการกระแสฟ้าในระดับ 8-12 Watt ซึ่งมาตรฐาน 802.3af ก็สามารถรองรับได้ แต่เมื่ออุปกรณ์เครือข่ายอย่าง Access Point มีการพัฒนาไปใช้เทคโนโลยี MIMO ที่มีภาคส่งสัญญาณหลายStream ซึ่งต้องการไฟมากขึ้น และยังมี Access Point ประเภท Dual Radio ที่รองรับย่าน 2.4GHz และ 5GHz พร้อมๆกัน ซึ่งยิ่งต้องการไฟในระดับ 20-30Watt ขึ้นไป ซึ่งต้องการ POE แบบ 802.3at ซึ่งสามารถกระแสไฟที่มีกำลังสูงกว่าได้นั่นเอง


======================================================================


ประโยชน์ของเทคโนโลยี POE

1. ประหยัดกว่าเดินสายไฟ และในบางสถานที่ การเดินสายไฟ AC ใหม่ไปยังสถานที่ติดตั้งอุปกรณ์ Access Point อาจจะเป็นไปไม่ได้
2. ติดตั้งง่ายและรวดเร็วกว่า เพราะใช้สายเพียง UTP เพียงเส้นเดียวไม่ต้องลากสายไฟใหม่ หมดกังวลในการหาที่ติดตั้งปลั๊กไฟ และลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการดูแลรักษาอีกด้วย หากกล้องค้าง ต้องการปิด เปิดใหม่ เพียงแค่ ปิดเปิด Switch ก็ทุกตัวก็เหมือน reboot กล้องทุกตัวได้
3. รองรับความเร็วระดับ Gigabit กล้องที่ความคมชัดระดับ 5.0 MP ก็ใช้งาน PoE ได้
4. ไฟแบบ 48V DC สามารถทำระบบ Back-up ไฟได้ง่ายกว่า โดยสามารถสร้างระบบสำรองไฟด้วย Battery และยังช่วยสร้างระบบบริหารกระแสไฟจากส่วนกลางได้อีกด้วย

ดังนั้น หากเราต้องการใช้ PoE นี้ แปลว่าเราจะต้อง

1. ติดตั้งกล้อง IP เท่านั้น
2. กล้องที่ใช้ จะต้องรอรับ PoE ด้วย หากกล้องไม่รองรับ ต้องไปหา PoE Spliter มาใส่
3. ตัว switch HuB ที่ใช้ จะต้องมีความสามารถจ่าย PoE ได้ 



หาก Switch/HUB ทำไม่ได้ ต้องไปซื้ออุปกรณ์ มาเพิ่ม เพื่อทำให้เป็น PoE ให้ได้ เราเรียกมันว่า PoE Injector




ซึ่งกล้องส่วนใหญ่ที่ไม่ถูกเกินไปนัก ส่วนใหญ่ จะมีฟังชั่น PoE มาให้อยู่แล้ว

จบการอธิบายเรื่อง PoE "กล้องที่ไม่ต้องเดินสายไฟ"